สมัครเพื่อรับจดหมายข่าวจากเรา

 

61 ประชาชื่น
Bangkok, Krung Thep Maha Nakhon, 10800
Thailand

0818888877

มวยไท่เก๊ก หรือ ไท้เก๊ก หรือ ไท่จี๋ หรือ ไท้จี๋ หรือบางคนเขียนเป็น ไทชิ, ไทจิ, ไทเก๊ก, ไทเก็ก, หรือแม้แต่ไท้กิ๊บก็มี ภาษาอังกฤษก็มีทั้งที่เขียนว่า taiji, taichi, t'aichi เป็นวิทยายุทธที่มีต้นกำเนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แตกแยกย่อยเป็นสายต่างๆ มากมาย จนแทบหาต้นตอที่แท้จริง ไม่ได้ หากแต่ละสายยังยึดหลักการเดียวกัน คือการเน้นความอ่อน เบา ต่อเนื่อง อาศัยจิตและสมาธิในการควบคุมพลังและกระบวนท่า การฝึกอาศัยความเบา ช้า กลม และสม่ำเสมอ เรียงร้อยกันเป็นกระบวนท่า

ปัจจุบันมวยไท่เก๊กที่นิยมฝึกกันอยู่มี 5 ตระกูลหลัก คือ เฉิน, หยาง, อู๋, อู่ และ ซุน

คำถามที่ถามบ่อย

สำนักมวยฉางชุนถาง

 

กรุณาอ่านและทำความเข้าใจก่อนจะติดต่อมาที่สำนัก

1. เรียนที่ไหน? 

ตอบ: สถานที่เรียนอยู่ใกล้กับสี่แยกประชานุกูล, ประชาชื่น เมื่อติดต่อทางแบบฟอร์มในเว็บไซท์นี้ ทางสำนักจะส่งแผนที่โดยละเอียดไปที่ท่านอีกครั้งหนึ่ง 

 

2. มีเรียนวันเวลาไหนบ้าง? 

ตอบ : ที่สำนักมีเรียนสัปดาห์ละสองวัน คือวัน อังคาร และวันเสาร์ ตั้งแต่ช่วงหนึ่งทุ่มครึ่งเป็นต้นไป (มาก่อนเวลา 15 นาที)​

กำหนดการโดยละเอียด
19:15 น. เริ่มเรียน 
20:30 น. นักเรียนใหม่เลิกเรียน
20:31 น.  นักเรียนเก่าเริ่มเรียนระดับสูง
22:00 น.  เลิกเรียน
 
สำหรับวันหยุดของสำนักอาจารย์จะประกาศให้ทราบเป็นครั้ง ๆ ไป
และหากท่านขาดเรียนไม่มีการชดเชยค่าเล่าเรียนใด ๆ ทั้งสิ้น (กรุณาอ่านเรื่อง "การเรียนในระบบสำนัก") 

 

3. ต้องเสียค่าเรียนเท่าไร? 

ตอบ: 

 ค่าเล่าเรียน เดือนละ 2,000* บาท

เรียนสัปดาห์ละสองครั้ง คือ วันอังคาร และเสาร์ นั่นหมายถึง หนึ่งเดือนจะเรียนประมาณ 8 ครั้ง

หมายเหตุ: * ไม่มีการชดเชยเมื่อหยุดเรียน (กรุณาอ่านในหัวข้อ "การเรียนในระบบสำนัก")
 

4. ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียน แต่ขอเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนจะได้หรือไม่? 


ตอบ: ทางสำนักยินดีให้ท่านมาเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่กรุณานัดหมายล่วงหน้า ติดต่อโดยคลิกที่นี่ โดยมีเงื่อนไขคือท่านจะต้องนำสำเนาบัตรประชาชนมาด้วย อนึ่ง ทางสำนักไม่ต้อนรับผู้ที่ประสงค์มาลองทดสอบวิชาการต่อสู้ใด ๆ ทั้งสิ้น และกรุณาปฏิบัติตามกติกามารยาทของการเยี่ยมชมที่ทางสำนักกำหนด มิฉะนั้นทางสำนักสงวนสิทธิ์ในการขอเชิญท่านกลับ 

 5. จะสมัครเรียนได้อย่างไร

ตอบ: กรุณากรอกแบบฟอร์มตามความเป็นจริง อาจารย์ขอสงวนสิทธิ์ในการติดต่อกลับเฉพาะคนที่ถูกคัดเลือกเท่านั้น —> แบบฟอร์มสมัครเรียน

6. ต้องเตรียมอะไรไปบ้างในการมาเรียนครั้งแรก? 

ตอบ: ถ้าหากท่านไม่มีชุดฝึกมวยจีน  ให้เตรียมเสื้อผ้าหลวม เสื้อยืดที่ยกแขนขึ้นได้สะดวก กางเกงวอร์ม (หรือกางเกงเล) และรองเท้าพื้นแบน ส้นรองเท้าบาง (เช่นรองเท้าบัดดี้ หรือนันยาง) สำหรับรองเท้าวิ่งไม่เหมาะเพราะส้นรองเท้าหนา

 

7. เรียนนานแค่ไหนกว่าจะเป็น? 
ตอบ : โดยปกติแล้ว ถ้ามาเรียนโดยไม่ขาดเรียนเลย อาจารย์จะต่อท่ามวยช้าให้ได้ครบ 81 ท่า ได้ในระยะเวลา 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียนและความขยันในการฝึกฝนเป็นหลัก จากนั้นจะต้องใช้เวลาขัดเกลาท่าอีกหลายปีกว่าที่จะเริ่มรำได้ถูกต้องขึ้นบ้าง ไท่จี๋เป็นวิชาที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้เรียน จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่าท่านจะ "เรียนจบ" เมื่อใด เพราะการจำท่าได้ไม่ได้หมายความว่าท่านจะสามารถรำได้อย่างถูกต้องถ้าปราศจากคำแนะนำและการปรับท่าของอาจารย์อย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลาหลายปี  

 

8. การเรียนในระบบ "สำนัก" หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ: การเรียนในระบบ "สำนัก" หมายถึงการเรียนในลักษณะครูบ่มเพาะศิษย์ ดังนั้นค่าเล่าเรียนที่จ่ายไม่ใช่เป็น "ค่าตัว" ของครู หรือ "ค่าลงทะเบียน" เรียนวิชาในมหาวิทยาลัย แต่เป็นวัตถุปัจจัยที่ศิษย์พึงบำรุงครูและวิชาที่ถ่ายทอดกันลงมาจากปรมาจารย์ทั้งหลายด้วยความเคารพและนอบน้อมในความเมตตากรุณาของครูบาอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะหากไม่ใช่เป็นเพราะพวกท่านเราก็จะไม่มีวิชาเหล่านี้ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์แห่งชีวิต 

การเรียนในระบบสำนักไม่ใช่ชั้นเรียนตามปกติซึ่งจะสามารถกำหนดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของศิษย์ที่จะทำความเข้าใจ เรียนรู้ลักษณะนิสัยของครูอาจารย์ ปรับตัวเข้ากับการเรียนการสอนด้วยความนอบน้อม ความก้าวหน้าในวิชาก็จะเกิดขึ้นได้ตาม "สติปัญญา" และ "ความพากเพียร" ของผู้เรียน อนึ่ง วิชาไท่จี๋เป็นวิชามวยภายในถ้าหากฝึกผิดพลาดย่อมเกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้เรียนมากกว่าผลดี การฝึกฝนจึงต้องอาศัยการปฏิบัติตามคำชี้แนะของอาจารย์อย่างเคร่งครัด

 

9. จะสามารถติดต่อสำนักเรื่องอื่น ๆ ทางไหนได้บ้างที่ไม่ใช่เรื่องสมัครเรียน

ตอบ: ท่านสามารถติดต่อเราได้ที่หน้า ติดต่อเรา 

 

10. จะสมัครเพื่อรับจดหมายข่าว และอัพเดตใหม่ ๆ จากทางสำนักได้อย่างไร?  

ตอบ: ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์ม โดยทิ้ง email ให้เรา เพื่อที่จะได้รับข้อมูลใหม่ ๆ และข่าวสารที่น่าสนใจ จากทางสำนัก โดย คลิกโลโกรูปจดหมายที่มุมขวาบน 

(ดูตัวอย่างด้านล่าง)