สมัครเพื่อรับจดหมายข่าวจากเรา

 

61 ประชาชื่น
Bangkok, Krung Thep Maha Nakhon, 10800
Thailand

0818888877

มวยไท่เก๊ก หรือ ไท้เก๊ก หรือ ไท่จี๋ หรือ ไท้จี๋ หรือบางคนเขียนเป็น ไทชิ, ไทจิ, ไทเก๊ก, ไทเก็ก, หรือแม้แต่ไท้กิ๊บก็มี ภาษาอังกฤษก็มีทั้งที่เขียนว่า taiji, taichi, t'aichi เป็นวิทยายุทธที่มีต้นกำเนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แตกแยกย่อยเป็นสายต่างๆ มากมาย จนแทบหาต้นตอที่แท้จริง ไม่ได้ หากแต่ละสายยังยึดหลักการเดียวกัน คือการเน้นความอ่อน เบา ต่อเนื่อง อาศัยจิตและสมาธิในการควบคุมพลังและกระบวนท่า การฝึกอาศัยความเบา ช้า กลม และสม่ำเสมอ เรียงร้อยกันเป็นกระบวนท่า

ปัจจุบันมวยไท่เก๊กที่นิยมฝึกกันอยู่มี 5 ตระกูลหลัก คือ เฉิน, หยาง, อู๋, อู่ และ ซุน

เรียนไท่จี๋ไปทำไม

taichi.jpg

ประโยชน์ของวิชาไท่จี๋เฉวียน

 

  1. ศิลปะแห่งการฝึกฝนตนเองขั้นสูง:- สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยการใช้ชีวิตให้มีดุลยภาพทางร่างกายและจิตใจ ไท่จี๋เป็นวิชาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกฝนจิตใจ เพราะเปรียบได้กับวิชาภาวนาที่ฝึกฝนสติสัมปชัญญะ เพิ่มพูนปัญญาฐานกาย สำหรับบางท่านไท่จี๋ไม่ได้เป็นแค่การออกกำลังกายแต่เป็นวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นความเจริญก้าวหน้าทางด้านจิตใจซึ่งผู้ฝึกจะสามารถสัมผัสได้จากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
  2.  การออกกำลังกายที่ทำได้ตลอดชีวิต:- การออกกำลังกายบางอย่างเช่นการวิ่ง เทนนิส บาสเก็ตบอล ฯลฯ ไม่สามารถจะทำได้ตลอดชีวิต เพราะเป็นกีฬาที่มีแรงกระแทกกระทำต่อข้อต่อต่าง ๆ ศิลปะป้องกันตัวบางอย่างก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถที่จะฝึกฝนไปตลอดชีวิต เช่น ยูโด เทควนโด คาราเต้ ซึ่งต้องอาศัยความว่องไวของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในระดับสูง ซึ่งเมื่อคนเราเข้าสู่วัยกลางคน และวัยสูงอายุ สุขภาพร่างกายย่อมไม่เอื้อให้สามารถฝึกฝนวิชามวยอย่างนั้นได้ ไท่จี๋ เป็นวิชามวยภายใน ซึ่งเน้นความอ่อนหยุ่นของร่างกาย ไม่มีความหักโหม ดังนั้นจึงสามารถฝึกฝนไปได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตามโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ หรือบั่นทอนสุขภาพร่างกาย โดยยิ่งฝึกฝนก็ยิ่งช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นเพราะเป็นการทะนุบำรุงระบบชี่ภายในร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
  3. เยียวยารักษาโรค:- นอกจากนั้นแล้ว เป็นที่ทราบกันว่า ไท่จี๋มีประสิทธิผลสามารถช่วยเยียวยารักษาโรคดังต่อไปนี้ โรคนอนไม่หลับ, ความดันโลหิตสูง, โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร, ปวดหลังส่วนล่าง, ไขข้ออักเสบ, โรคแพ้ภูมิตนเอง, โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท, โรคที่เกี่ยวกับระบบฮอร์โมนของร่างกาย ฯลฯ